ขยายผล Hackathon 2022 U2T for BCG สร้างพื้นที่ต้นแบบอย่างยั่งยืน


ขยายผล Hackathon 2022 U2T for BCG สร้างพื้นที่ต้นแบบอย่างยั่งยืน
วันที่ 15 กันยายน 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมร่วมกับกองนโยบายและแผน จัดกิจกรรมถอดบทเรียนและเสวนาวิชาการ ภายใต้โครงการมหาวิทยาลัยกับการขับเคลื่อนภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการเกษตรและท่องเที่ยวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ นายบรรพต ยาฟอง อดีตปลัดจังหวัดอุดรธานีและนายอำเภอเชียงคาน นายยงยุทธ ทิพรส อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนเชียงคาน นายสุจิน มีชัย ประธานภาคประชาชนเพื่อการท่องเที่ยวเชียงคานอย่างยั่งยืน นายอภินันต์ สุวรรณโค นายอำเภอเชียงคาน ร่วมเสวนาภายใต้หัวข้อเรื่อง “เบิ่งเมืองเชียงคาน อีก 5 ปี ข้างหน้า ภายใต้นโยบายเมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ” สอดคล้องกับนโยบายของจังหวัดเลย เมืองสุขภาพ (Health CITY)
การดำเนินงานครั้งนี้เป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชนในพื้นที่ สร้างแพลตฟอร์มพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างกลไกในการนำข้อมูลจากการถอดบทเรียนและเสวนากลุ่มย่อย ไปสู่โจทย์วิจัยและบูรณาการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และพลังของประชาชนที่ต้องการพัฒนาชุมชนของตนเองสร้างการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมพัฒนา จากหน่วยงานราชการในพื้นที่เชียงคานและจังหวัดเลย สสจ.เลย ที่ทำการปกครองอำเภอเชียงคาน สำนักงานเกษตร สำนักงานปศุสัตว์ สำนักงานพัฒนาชุมชน เทศบาลตำบลเชียงคาน อบต.เชียงคาน สถานีตำรวจภูธรเชียงคาน ตรวจคนเข้าเมือง จ.เลย ภาคเอกชน บริษัทประชารัฐรักสามัคคีเลย หอการค้าจังหวัดเลย บริษัท เลยพัฒนาเลย จำกัด ชมรมผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชียงคาน ชมรมมัคคุเทศก์ท้องถิ่นเมืองเชียงคาน ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ผู้ประกอบการเกษตร BCG ผู้ปฏิบัติงาน U2T for BCGและสถาบันการศึกษาในพื้นที่ ณ โรงเรียนบ้านเชียงคาน วิจิตรวิทยา โดยแบ่งกลุ่มเป็น 5 หัวข้อ คือ เกษตรเชิงสุขภาพ เกษตร BCG Model ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ดร.จักรกฤษณ์ พงษ์อินทร์วงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผน และกิจการพิเศษ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเล็งเห็นศักยภาพของพื้นที่ตำบลเชียงคาน ที่จะขับเคลื่อน SDGS โดยให้มหาวิทยาลัยเป็นฐานในการพัฒนา ภายใต้นโยบายของกระทรวง อว. ในการบูรณาการความร่วมมือในการทำงานกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อตอบโจทย์วิจัยของประเทศ บริหารจัดการทรัพยากรร่วมกันและพัฒนาองค์ความรู้สู่สังคมผ่านนักวิจัยเชิงพื้นที่ ภายหลังจากสำรวจและสังเคราะห์โจทย์จากชุมชน Inspiration TEAM ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยร่วมกับวิทยากรกลุ่มย่อย จะพัฒนาข้อมูลไปสู่โจทย์วิจัยและบริการวิชาการ เพื่อสร้างแพลตฟอร์มการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย “มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” ต่อไป